อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ปรับขนาดตัวอักษร
ภาษา
ประเพณี/วัฒนธรรม/เทศกาล
ประเพณีห่มผ้าองค์พระวง
ยังไม่มีผู้ให้คะแนน
ประเพณีห่มผ้าองค์พระวง
 
 

ห่มผ้าองค์พระวง

     พระวง เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ ประดิษฐานอยู่ ณ บริเวณวัดเก่าบ้านน้ำกระจาย หมู่ที่ 2 ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา สันนิษฐานว่า พระวงน่าจะสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ.2240 - พ.ศ.2300 พระวงเป็นพระพุทธรูปที่มีความขลังและศักดิ์สิทธิ์มาก เล่าต่อกันมาว่าพระวงเดิมเป็นแก่นไม้มีลักษณะตรงกลางเหมือนมือคนโอบออกมาข้างหน้าคล้ายพระอุ้มบาตรที่ลอยน้ำมาติดคุ้งที่คลองท่าตะเคียนช่วงน้ำหลากในฤดูฝน ชาวบ้านจึงนำมาไว้บนตลิ่งและได้สร้างศาลามุงจากขึ้นเกิดปาฏิหาริย์ในความศักดิ์สิทธิ์ ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ต่อมาชาวบ้านจึงร่วมมือร่วมใจสร้างศาลาขนาดใหญ่มีความคงทนถาวรขึ้น นำเอาขอนไม้ศักดิ์สิทธิ์เข้าไว้ ก่อเป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนโอบไว้ นับจนถึงปัจจุบันได้มีการปฏิสังขรณ์พระวงขึ้น 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 พ.ศ.2470 สร้างวิหารไม้หลังคามุงกระเบื้องเสาไม้ตั้งบนเสาปูนก่ออิฐเป็นชั้น ๆ ขึ้นมาราว 60 ซ.ม. ครั้งที่ 2 พ.ศ.2522 โดยพระครูสุชิตกิจจาธร เจ้าอาวาสวัดน้ำกระจายในสมัยนั้น ชื่อของพระวงชาวบ้าน จะนิยมเรียกว่า “พ่อเจ้าคุณ” ที่มาของชื่อไม่มีใครสามารถบอกได้ รู้แต่ว่ามีการเรียกต่อๆกันมาจากคนรุ่นอดีต

     ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ชาวบ้านร่วมกันสรงน้ำและห่มผ้าองค์พระวงที่วัดเก่าพระวงเป็นประจำทุกปี พระวงจึงเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านสักการะบูชาตั้งแต่รุ่นอดีตจนถึงปัจจุบันกราบไหว้บูชายึดเหนี่ยวเป็นที่พึ่งทางจิตใจร่วมกันของชาวพะวงและบุคคลทั่วไป

แสดงความคิดเห็น