ต้นน้ำ
การเริ่มต้นของการทำน้ำส้มควันไม้มาจากที่ทางหมู่บ้านนาป๋องมีอาชีพการทำการเกษตรกันเป็นหลักซึ่งชาวบ้านที่ทำการเกษตรต้องมักพบเจอปัญหาแมลงหรือวัชพืชที่มากัดกินผลผลิตของชาวบ้านทำให้เกิดปัญหาในการชื้อยาฆ่าแรงมาใช้ในการกำจัดแมลงหรือวัชพืชที่มากัดกินผลผลิต ซึ่งทำให้เกิดผลเสียตามมาจากการใช้ยาฆ่าแมลง จึงทำให้กลุ่มวิสาหกิจน้ำส้มควันไม้ได้มีการทดลองการทำส้มควันไม้ตามภูมิปัญญาชาวบ้านด้วยตนเอง โดยการนำเอาไม้พืชสดที่มีในชุมชนทั่วไป ที่มาจากการช่วยชาวบ้านโค่น อาทิเช่น ไม้ยาง ก็สามารถนำมาเผาทำน้ำส้มควันไม้ได้ และวัตถุดิบในการทำอย่างอื่น เช่น ดินเหนียว หรือดินที่ต้องเอามาปิดกันควันออก เป็นสิ่งที่สามารถหามาได้ในชุมชนโดยไม่มีต้นทุน เพราะใช้ทรัพยากรภายในชุมชนหมดทั้งสิ้น
กลางน้ำ
ส้มควันไม้(Wood vinegar) คือ ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นผลผลิตที่ได้จากการเผาถ่านมีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาล ใช้ประโยชน์ได้ทั้งในครัวเรือน การเกษตร และการปศุสัตว์
ขั้นตอนการแปรรูป
1.ขั้นตอนการนำไม้เข้าเตาเผาถ่าน
นำไม้ที่ต้องการเผาถ่าน มาจัดแยกกลุ่มตามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของไม้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เรียงไม้ที่มีขนาดเล็กไว้ด้านล่างของเตา ขนาดใหญ่ไว้ด้านบน โดยวางทับไม้หมอนยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร การเรียงไม้นี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากอุณหภูมิ ในเตาขณะเผาถ่านไม่เท่ากัน โดยอุณหภูมิด้านล่างเตาจะต่ำ ส่วนอุณหภูมิที่อยู่ด้านบนเตาจะสูงกว่าและหลังจากที่เรียงไม้เสร็จแล้วให้ปิดฝาเตาถังด้านหน้า โดยใช้ช่องที่เจาะไว้อยู่ด้านล่างของตัวถังแล้วนำดินเหนียวมาประสานเพื่อไม่ให้อากาศเข้าไปในถัง
2.ขั้นตอนการเผาถ่าน
ช่วงที่ 1 ไล่ความชื้น หรือคายความร้อนเริ่มจุดไฟเตา บริเวณที่อยู่หน้าเตา ใส่เชื้อเพลิงให้ความร้อนกระจายเข้าสู่เตาเพื่อไล่อากาศเย็นและ ความชื้นที่อยู่ในเตาและในเนื้อไม้ควันที่ออกมาจากปล่องควันจะเป็นสีขาว ควันจะมีกลิ่นเหม็น ซึ่งเป็นกลิ่นของกรดที่อยู่ในเนื้อไม้ อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควันประมาณ 70–75 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ ภายในเตา ประมาณ 150 องศาเซลเซียส ใส่เชื้อเพลิงต่อไป ควันสีขาวตรงปล่องควันจะเพิ่มขึ้นอุณหภูมิ บริเวณปากปล่องควันประมาณ 70-75 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 200-250 องศาเซลเซียส ควันมีกลิ่นเหม็นฉุน
ช่วงที่ 2 เมื่อไม้กลายเป็นถ่าน หรือ ปฏิกิริยาคลายความร้อน เมื่อเผาไปอีกระยะหนึ่ง ควันสีขาวจะเริ่มบางลง และเปลี่ยนเป็นสีเทา อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควัน ประมาณ 80-85 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 300-400 องศาเซลเซียส ไม้ที่อยู่ในเตาจะคาย ความร้อนที่สะสมเอาไว้เพียงพอที่จะทำให้อุณหภูมิในเตาจะเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงนี้ค่อยๆ ลดการ ป้อนเชื้อเพลิงหน้าเตาจนหยุดการป้อนเชื้อเพลิงหน้าเตา จะต้องควบคุมอากาศโดยการหรี่หน้าเตาหรือ ลดพื้นที่หน้าเตาลงให้เหลือช่องพื้นที่หน้าเตา ประมาณ 20-30 ตารางเซนติเมตร สำหรับให้อากาศเข้า เพื่อรักษาระดับของอุณหภูมิในเตาไว้ให้นานที่สุด และยืดระยะเวลาการเก็บน้ำส้มควันไม้ให้นานที่สุด
การเก็บน้ำส้มควันไม้
1.การดักเก็บน้ำส้มควันไม้ ให้สังเกตสีของควันเป็นสีเหลืองน้ำตาลปนเทา โดย นำกระเบื้องเคลือบสีขาว มาอังที่ปล่องไฟดูจะเป็นสีน้ำตาล จากนั้นนำท่อไม้ ไผ่ที่เตรียมไว้มาวางต่อกับปล่องควัน โดยตั้งท่อไม้ไผ่ให้เอียงชันขึ้นไปประมาณ 45 องศา ห่างขึ้นไป 1 ข้อไม้ใผ่ ให้ใช้เลื่อยตัดเปิดท่อไม้ไผ่ให้เป็นรู เพื่อให้ น้ำส้มควันไม้หยดลงมาแล้วหาขวดมารองรับน้ำ
2.ที่ระยะห่างขึ้นไปอีก 1 ข้อไม้ใผ่หรือราว 40 ซม.ให้ติดตั้งระบบควบแน่น ด้วยการใช้ผ้าที่ซุบน้ำพันให้รอบท่อ และใช้ขวดพลาสติกบรรจุน้ำเจาะรูที่ฝา ขวดให้น้ำหยดตรงบริเวณที่พันผ้า เพื่อให้ท่อเย็นตลอดเวลา
3.หมั่นตรวจควันซ้ำเป็นระยะ เมื่อสีน้ำส้มควันไม้เข้ม และมีความหนึดมาก จึงหยุดเก็บน้ำส้มควันไม
ปลายน้ำ
กลุ่มวิสาหกิจน้ำส้มควันไม้ได้ผลิตน้ำส้มควันไม้ขึ้นมา โดยมีกลุ่มเป้าหมายลูกค้าคือกลุ่มคนที่ทำอาชีพเกษตร ทำสวน ทำนา ปลูกผักต่างๆ และกลุ่มลูกค้าที่สนใจผลิตภัณฑ์น้ำส้มควันไม้
น้ำส้มควันไม้จะมีจุดขายที่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นมาจากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมีเจือปนและมีมีประโยชน์หรือคุณค่าคือ 1.เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 2.วัตถุดิบมาจากชุมชนของตนเอง 3.ใช้ในการไล่แมลดับกลิ่นเหม็นและทางปศุสัตว์หืออื่นๆอีกมากมาย
ช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำส้มควันไม้
วิดีโอ กระบวนการผลิต (น้ำส้มควันไม้ ) : https://www.youtube.com/watch?v=sJkS8lIHtWY